%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%887%e0%b8%9b%e0%b8%b5

เป็นความเชื่อที่ผิดว่า สารอาหารจากน้ำนมแม่ จะลดน้อยลงและไม่มีประโยชน์สำหรับเด็กอ่อนในวัย 1 ปีขึ้นไป ความจริงแล้วแม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนกว่าลูกจะอายุ 2 ปีครึ่งถึง 7 ปี โดย 6 เดือนแรกกินนมแม่ล้วน หลังจาก 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมควบคู่กับนมแม่ 1 มื้อ ,9 เดือน กินอาหารเสริม 2 มื้อ และ 1 ปีกิน 3 มื้อ  หลังจาก 1 ปี ควรให้ข้าวเป็นอาหารหลัก ทั้งนี้ ร่างกายของแม่จะสามารถผลิตน้ำนมได้เรื่อยๆ ถ้าหากได้รับการกระตุ้นและมีการเอาน้ำนมออกอยู่เสมอ โดยการให้นมลูกจากเต้าและการปั๊มน้ำนม โดยที่คุณค่าของน้ำนมยังคงเหมือนเดิม อีกทั้งร่างกายของลูก ก็ยังต้องการสารอาหารต่างๆ ที่มีในนมแม่อีกด้วย เนื่องจากเด็กที่อายุยังไม่ถึง 7 ปี(เทียบเท่ากับเด็กชั้น ป.1) ระบบภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ ในนมแม่มีภูมิต้านทานและเม็ดเลือดขาวซึ่งจะไปเคลือบในคอและกระเพาะอาหารของเด็ก เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา จะมีภูมิต้านทานและเม็ดเลือดขาวจากนมแม่ ที่ออกมาจับทำลายเชื้อโรค ทำให้ลดโอกาสที่เชื้อโรคจะเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกาย

หากใครมีลูกจะสังเกตได้ว่า เด็กที่ยังไม่เข้าโรงเรียนจะไม่ค่อยป่วยบ่อย แต่เมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาลแล้วจะป่วยบ่อยในช่วงปีแรกก่อนจะค่อยลดน้อยลงเมื่อเข้าชั้นประถมศึกษา เด็กที่กินนมผงจะมีอัตราการป่วยบ่อยมากกว่าเด็กที่กินนมแม่ เช่น เด็กที่กินนมผงอาจจะป่วยมากถึง 3-4 ครั้ง ขณะที่เด็กที่กินนมแม่เพิ่งจะป่วยครั้งแรก
กุมารแพทย์ยกตัวอย่างกรณีนี้ว่า “หมอจะแนะนำคนไข้ว่าถ้าใครคลอดลูกคนที่สอง และลูกคนโตอยู่ในวัยไปโรงเรียนและป่วยบ่อย ป่วยทุกเดือน ให้พี่คนโตกินนมแม่ด้วย พี่คนโตก็จะได้ภูมิคุ้มกันจากนมแม่ ก็จะเห็นชัดว่าป่วยน้อยลงอย่างชัดเจน”

ที่มา : พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิดและนมแม่