These-things-that-Mother-should-do-when-outside

 

วินัยเชิงบวกคืออะไร ?
วินัยเชิงบวก = วิถีการใช้ชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ

**วิถี อันเป็นธรรมชาติ ควรเลื่อนไหล ไม่ใช่กักขัง ลองนึกถึงน้ำ นึกถึงตอนน้ำท่วมก็ได้นะคะ เรายิ่งไปกั้นไปกักขัง พยายามฝืนต้าน สุดท้ายเป็นเช่นไร
วินัยเชิงบวก เกิดจาก ปัญญาที่แท้จริง+ความสุข+ความรัก
วินัยเชิงบวก เกิดจาก แรงบันดาลใจ+การรู้ค่า+ความรู้สึกชื่นชม

สำหรับใคร สำคัญอย่างไร และจะสร้างให้ลูกได้อย่างไร
ทุกคนควรมีวินัย เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข และสำหรับคนที่อยากให้ลูกมีวินัยเชิงบวก ก่อนที่อยากจะให้ลูกมีวินัย พ่อแม่ต้องมีสิ่งนี้ก่อน (ต้นแบบที่ดี)

อยากให้ลูกมีวินัยต้องทำอย่างไร
พ่อ แม่ต้องมีวินัยก่อน ต้นแบบสำคัญกว่าการสั่งสอนด้วยการพูด ทำให้ลูกเห็น เป็นให้ลูกดู ให้ความรักด้วยความเมตตากรุณา มองลูกด้วยความรักเปี่ยมไปด้วยความเมตตา พูดกับลูกด้วยคำพูดที่แสดงถึงความรัก ความปรารถนาดี ความมีเมตตา ด้วยภาษาที่งดงามจากใจจริง ๆ ของเรา เขาจะมองเห็นความงดงามในตัวเขาเอง พ่อแม่มีหน้าที่ให้ความรัก สร้างแรงจูงใจ ไม่ดุด่า ตำหนิ ทำโทษ หรือสายตาที่ส่งกระแสความรู้สึกในแง่ลบไปสู่ลูก เช่น ความโกรธ ความไม่พอใจฯลฯ หากลูกมีวินัยจากใจเขาเอง บทลงโทษ หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น

การสร้างวินัยให้เด็กนั้นไม่จำเป็นต้องดุเสียงดังหรือลงโทษลูกเสมอไป ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่ากุญแจสำคัญคือ ความหนักแน่นในการทำตามกฏระเบียบด้วยความเคารพและสงบนิ่ง โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างก่อน เพราะลูกจะคอยดูวิธีที่คุณตอบสนองกับเรื่องต่างๆในยามที่คุณโกรธหรือว้าวุ่นใจด้วย ซึ่งมีเคล็ดลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ดังนี้ค่ะ

1.สอนให้ลูกรู้ถึงผลกระทบที่ตามมา

ลูกควรได้เรียนรู้ถึงผลกระทบที่ตามมาเมื่อเค้าปฏิบัติตนไม่เหมาะสม สิ่งนี้จะมีความหมายและมีคุณค่ามากกว่าการถูกลงโทษซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีอะไร เช่นขณะกินอาหารเย็นด้วยกันเจ้าตัวเล็กไม่ยอมกินดีๆ กลับปาอาหารลงพื้น คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีเก็บจานข้าวและพาออกไปจากโต๊ะได้ทันทีค่ะ พร้อมกับสอนเค้าว่าสิ่งที่ลูกทำนั้นหมายความว่าหนูอิ่มแล้ว ไม่อยากนั่งโต๊ะกินข้าวอีก ทีนี้ครั้งต่อไปลูกๆก็จะจำได้ว่า ไม่ควรเล่นอาหารในจานของตัวเองค่ะ

2.เพิกเฉยต่อการเรียกร้องความสนใจ

เป็นที่รู้กันดีว่าเด็กๆมักมีวิธีเอาแต่ใจหรือเรียกร้องความสนใจหลายวิธี ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยแก้นิสัยนี้ของลูกได้ก็คือ การเพิกเฉยค่ะ เมื่อพวกเขาเรียนรู้ว่าทำไปก็ไม่ได้รับความสนใจเด็กๆจะเลิกพฤติกรรมนั้นไปเอง

3.ให้ทางเลือก

เด็กๆจะให้ความร่วมมือดีขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องแน่ใจว่าทางเลือกที่มีให้ตัวเล็กนั้นคือสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ  ข้อควรระวังคือไม่ควรให้ทางเลือกที่มากเกินไป เพราะจะทำให้คุณเองควบคุมพฤติกรรมลูกได้ยากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่นครั้งต่อไปที่จะออกนอกบ้านให้ถามลูกว่าอยากทำอะไรก่อนระหว่างใส่เสื้อเข้ากางเกงให้เรียบร้อยกับการใส่รองเท้าเป็นต้นค่ะ

การใช้เทคนิคทั้งหมดในข้างต้นอาจยังไม่เห็นผลในทันที ขอให้คุณพ่อคุณแม่อดทนและหนักแน่นเข้าไว้ค่ะ  ท้ายที่สุดคุณจะค่อยๆเห็นพฤติกรรมที่ดีของลูกๆอย่างแน่นอนค่ะ

เรียบเรียงโดย สมุนไพรบ้านอาจารย์